พฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง
พฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง
พฤติกรรมการบริโภคเป็นตัวแปรที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้ข้อมูลไว้ว่าการปฏิบัติตนให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม และการบริโภคที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ 30-40% ของโรคมะเร็งทั้งหมด ซึ่งจะลดจำนวนผู้ป่วยได้ 3-4 ล้านคนต่อปีและยังสามารถป้องกันโรคอื่น ๆ ได้อีก เช่น โรคหัวใจโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ...และนี่คือพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องค่ะ
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย โดยกินอาหารให้หลากหลาย อย่ากินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเป็นประจำ เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ และหลีกเลี่ยงการสะสมสารพิษจากอาหาร
เลือกกินอาหารที่ประกอบด้วยธัญพืช เช่น เมล็ดถั่วต่าง ๆ งา ข้าวโพด ข้าวกล้อง มันฝรั่ง มันเทศ
กินพืชผักผลไม้สดให้มากเป็นประจำตามฤดูกาลโดยควรกินให้ได้อย่างน้อยวันละ 500 กรัม หรือมากกว่าครึ่งของปริมาณอาหารที่กิน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ 20% หรือมากกว่า
กินอาหารที่มีไขมันต่ำ ในผู้ใหญ่ ผู้ชายควรได้พลังงานวันละ 2,000 แคลอรี ผู้หญิง 1,600 แคลอรีและได้รับไขมันไม่เกิน 25-30%ของปริมาณพลังงานทั้งหมดต่อวัน
กินอาหารที่เค็มน้อย และหวานน้อย โดยเกลือต้องไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ 6 กรัม ในอาหารทั้งหมดของแต่ละวัน และควรกินน้ำตาลไม่เกิน 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน
อาหารหลายชนิดต่อไปนี้มีสารก่อมะเร็ง ควรกินให้น้อยลง
อาหารจากเนื้อสัตว์ ปิ้ง ย่าง รมควัน ควรห่อด้วยกระดาษอะลูมิเนียม จะช่วยลดสารก่อมะเร็ง และไม่ควรกินในส่วนที่ไหมเกรียม ถ้าให้ดีควรใช้วิธีต้ม นึ่ง อบ หรือใช้ไมโครเวฟ
อาหารหมัก ดองเค็ม และเนื้อสัตว์ตากแห้งที่ใส่ดินประสิว (โปแตสเซียมไนเตรท) และสารไนไตรท์สามารถเปลี่ยนเป็นสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในร่างกายได้ จึงควรกินอาหารเหล่านี้ให้น้อยลง วิตามินซีสามารถป้องกันการเกิดสารไนโตรซามีนในร่างกายได้จึงควรกินผักสดร่วมกับอาหารประเภทนี้
อาหารที่มีเชื้อราขึ้น อาจมีสารพิษอัลฟาทอกซินทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ
ในท้องถิ่นที่มีการระบาดของพยาธิใบไม้ในตับไม่ควรกินปลาสุก ๆ ดิบ ๆ (ลาบปลา ก้อยปลา) ที่ทำมาจากปลาในตระกูลปลาตะเพียน หรือปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด
ถ้ากินเนื้อสัตว์สีแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมูในปริมาณที่มากเป็นเวลานาน จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งไม่ควรกินเกิน 80 กรัมต่อวัน
สุขภาพดีขึ้นอยู่กับการบริโภคของคุณค่ะ...
พฤติกรรมการบริโภคเป็นตัวแปรที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้ข้อมูลไว้ว่าการปฏิบัติตนให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม และการบริโภคที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ 30-40% ของโรคมะเร็งทั้งหมด ซึ่งจะลดจำนวนผู้ป่วยได้ 3-4 ล้านคนต่อปีและยังสามารถป้องกันโรคอื่น ๆ ได้อีก เช่น โรคหัวใจโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ...และนี่คือพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องค่ะ
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย โดยกินอาหารให้หลากหลาย อย่ากินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเป็นประจำ เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ และหลีกเลี่ยงการสะสมสารพิษจากอาหาร
เลือกกินอาหารที่ประกอบด้วยธัญพืช เช่น เมล็ดถั่วต่าง ๆ งา ข้าวโพด ข้าวกล้อง มันฝรั่ง มันเทศ
กินพืชผักผลไม้สดให้มากเป็นประจำตามฤดูกาลโดยควรกินให้ได้อย่างน้อยวันละ 500 กรัม หรือมากกว่าครึ่งของปริมาณอาหารที่กิน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ 20% หรือมากกว่า
กินอาหารที่มีไขมันต่ำ ในผู้ใหญ่ ผู้ชายควรได้พลังงานวันละ 2,000 แคลอรี ผู้หญิง 1,600 แคลอรีและได้รับไขมันไม่เกิน 25-30%ของปริมาณพลังงานทั้งหมดต่อวัน
กินอาหารที่เค็มน้อย และหวานน้อย โดยเกลือต้องไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ 6 กรัม ในอาหารทั้งหมดของแต่ละวัน และควรกินน้ำตาลไม่เกิน 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน
อาหารหลายชนิดต่อไปนี้มีสารก่อมะเร็ง ควรกินให้น้อยลง
อาหารจากเนื้อสัตว์ ปิ้ง ย่าง รมควัน ควรห่อด้วยกระดาษอะลูมิเนียม จะช่วยลดสารก่อมะเร็ง และไม่ควรกินในส่วนที่ไหมเกรียม ถ้าให้ดีควรใช้วิธีต้ม นึ่ง อบ หรือใช้ไมโครเวฟ
อาหารหมัก ดองเค็ม และเนื้อสัตว์ตากแห้งที่ใส่ดินประสิว (โปแตสเซียมไนเตรท) และสารไนไตรท์สามารถเปลี่ยนเป็นสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในร่างกายได้ จึงควรกินอาหารเหล่านี้ให้น้อยลง วิตามินซีสามารถป้องกันการเกิดสารไนโตรซามีนในร่างกายได้จึงควรกินผักสดร่วมกับอาหารประเภทนี้
อาหารที่มีเชื้อราขึ้น อาจมีสารพิษอัลฟาทอกซินทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ
ในท้องถิ่นที่มีการระบาดของพยาธิใบไม้ในตับไม่ควรกินปลาสุก ๆ ดิบ ๆ (ลาบปลา ก้อยปลา) ที่ทำมาจากปลาในตระกูลปลาตะเพียน หรือปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด
ถ้ากินเนื้อสัตว์สีแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมูในปริมาณที่มากเป็นเวลานาน จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งไม่ควรกินเกิน 80 กรัมต่อวัน
สุขภาพดีขึ้นอยู่กับการบริโภคของคุณค่ะ...
ไม่มีความคิดเห็น