ด้วยชีวิตของคนทำงาน ที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ดิ้นรน เพื่อการอยู่รอด ทำให้ต้องเผชิญ กับปัญหา หลากหลาย ที่รุมเร้าเข้าทำร้ายตัวเอง อย่างช้าๆ โดยไม่รู้ตัว จากพฤติกรรมต่างๆ ของตัวเราเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับกระดูกสันหลัง ที่เป็นโครงสร้างหลัก ของร่างกาย
ดังนั้น ก่อนที่โครงสร้างร่างกายจะเสียสมดุล เราควรต้องเปลี่ยนวีถีชีวิตตัวเองใหม่ ใส่ใจกับตัวเอง ให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายอยู่ได้ อย่างเต็มศักยภาพ ตลอดอายุขัย ซึ่ง "เพ็ญพิชชากร แสนคำ" นักกายภาพบำบัด จากสถาบัน ปรับโครงสร้างร่างกาย ซีเคร็ท เชพ เวลเนส เซ็นเตอร์ ได้สรุปพฤติกรรม ที่ทำให้โครงสร้างร่างกายเสียสมดุล เอาไว้ 10 ข้อดังนี้
1. การนั่งไขว่ห้าง
จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคดอย่างแน่นอน หรืออาจจะคดแล้ว ก็ได้โดยที่ไม่รู้ตัว
2. การนั่งกอดอก
ทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อม และงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอ ยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อ เส้นประสาท ที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรง หรือชาได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อหลอดเลือด ที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะถ้ากระดูกคอผิดรูป จะทำให้กล้ามเนื้อคอเกร็ง และจำกัดการไหลเวียนเลือด ที่ไปเลี้ยงสมอง เป็นสาเหตุของ การอาการปวดศีรษะ หรืออาจทำให้เป็นไมเกรนเรื้อรังได้
3. การนั่งหลังงอ/นั่งหลังค่อม
เช่น การอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่ง ของกรดแลกติค ทำให้มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหา เรื่องกระดูกผิดรูปตามมา
4. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น
การนั่งเก้าอี้ส่วนใหญ่ จะชอบนั่งแบบครึ่งๆก้น ซึ่งส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหลัง ต้องทำงานหนัก เพราะฐาน ในการรับน้ำหนักตัวแคบ แต่ในทางตรงข้าม ถ้านั่งให้เต็มก้นเต็มเบาะ คือเลื่อนก้นให้เข้าในสุดจนติดพนักพิง จะทำให้กล้ามเนื้อหลัง ทำงานน้อย และเกิดการรองรับ น้ำหนักตัวได้เต็มที่
5. การยืนพักขาลงน้ำหนัก ด้วยขาข้างเดียว
การยืนที่ถูกต้องควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน โดยยืนให้ขากว้าง เท่าสะโพก จะทำให้เกิดความสมดุล ของโครงสร้าง ร่างกาย ไม่ทำให้กล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่ง ต้องทำงานหนักมากเกินไป ในทางตรงข้าม หากยืนพักขา หรือลงน้ำหนักขาไม่เท่ากัน จะทำให้กระดูกเชิงกรานบิดเบี้ยว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคด
6. การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม
ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย ขณะยืน เดิน หรือนั่ง ให้พยายามแขม่วท้องเล็กน้อย โดยให้มีสติรู้สึกตัวอยู่ตลอด หากเป็นไปได้ ควรทำตลอดเวลา เพื่อเป็นการรักษา แนวกระดูกช่วงล่าง ไม่ให้แอ่น และทำให้ไม่ปวดหลัง
7. การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง
จะทำให้แนวกระดูกสันหลัง ช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง และการมีโครงสร้าง ร่างกายที่ผิด
8. การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว
ไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใด ข้างหนึ่ง ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็น การถือกระเป๋า โดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้ตัวคุณต้องทำงานหนัก อยู่เพียงซีกเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
9. การหิ้วของด้วยนิ้ว
การใช้นิ้วหิ้วของหนักบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืด ยึดตามข้อนิ้วมือ เพราะจริงๆ แล้วกล้ามเนื้อในมือ เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก หน้าที่หลักคือการใช้หยิบ,จับโดยไม่หนัก แต่หากต้องใช้จับ หรือหิ้วหนักๆ จะทำให้เส้นเอ็นมีการเสียดสี และเกิดพังผืด ในที่สุด ยิ่งหากหิ้วหนักมากๆ จะทำให้รั้งกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ และเกี่ยวโยงไปถึงกระดูกคอ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง มากกว่าปกติ มีผลต่อการทรุด ของกระดูก และกดทับเส้นประสาทได้
10. การนอนขดตัว/นอนตัวเอียง
ท่านอนหงาย เป็นท่านอนที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ ขนานกับเพดาน ไม่แหงนหน้า หรือก้มคอมากเกินไป หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่า เพื่อลดความแอ่น ของกระดูกสันหลัง ช่วงล่าง หากจำเป็น ต้องนอนตะแคง ให้หาหมอนข้างก่าย โดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูก ให้อยู่ในแนวตรง |
|
ไม่มีความคิดเห็น