หลักการเลือกศัลยแพทย์ ก่อนคิดศัลยกรรม
หลักการเลือกศัลยแพทย์
การเลือกศัลยแพทย์ที่จะมาผ่าตัดให้เรา น่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หากเราหวังผลให้การผ่าตัดออกมาได้ผลดี
หลักการง่ายๆที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ ก็คือ เลือกศัลยแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงในการรักษาผ่าตัดที่เรากำลังสนใจ
แน่นอนว่า สำหรับประชาชนทั่วไปย่อมไม่ทราบว่า ศัลยแพทย์คนใดมีความรู้ความสามารถดังที่เราหวัง ทางสมาคมฯจึงขอแนะนำในลักษณะนี้
- การผ่าตัดคล้ายกับการขึ้นรถรับจ้างจำพวกแท๊กซี่
- ถ้าเรารู้จักผู้ขับขี่ก็ดีไป แต่ถ้าไม่รู้จักผู้ขับขี่ เราคงต้องพยายามทำความรู้จัก นั่นก็หมายความว่า เราไม่ควรรีบตัดสินใจผ่าตัดรักษา จนกว่าจะมีข้อมูลเกี่ยวกับศัลยแพทย์คนนั้นก่อน อาจต้องเดินทางไปพบปะพูดคุยกันมากกว่าหนึ่งครั้ง
- ถ้าผู้ขับขี่มีใบขับขี่ที่ถูกต้อง ในกรณีนี้ก็คือ ผ่านการฝึกอบรมในสาขาศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างมาอย่างถูกต้อง จนได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง เราจะน่าจะสบายใจได้ในระดับหนึ่ง ผู้รับบริการจึงควรมองหาวุฒิบัตร หรือสอบถามจากทางแพทยสภา
- ถ้าผู้ขับขี่รู้จักจุดหมายปลายทางเป็นอย่างดีก็จะเป็นการดีไม่น้อย แต่ในข้อนี้ ประชาชนทั่วไปคงไม่ทราบ นอกเสียจากจะเคยได้พบกับผู้โดยสารคนก่อนหน้านี้ ซึ่งก็คือ คนไข้คนก่อนๆของแพทย์คนนั้น ได้เห็นผลงานในอดีตของศัลยแพทย์คนนั้น
- ศัลยแพทย์คนนั้นเป็นผู้ที่มีจรรยาบรรณที่ดี ตรงนี้สำคัญมาก เพราะศัลยแพทย์บางคนอาจจะฝึกอบรมมาจริง ได้รับวุฒิบัตรจริง แต่ประพฤติปฏิบัติในทางเสื่อมเสีย ใช้วิธีการผิดๆ หรือหลอกลวง ซึ่งทางสมาคมฯจะไม่ยินดีให้เป็นสมาชิก ซึ่งประชาชนสามารถติดต่อสอบถามกับทางสมาคมฯได้โดยตรง
ขั้นตอนการเลือกศัลยแพทย์
เริ่มต้นอย่างไรเมื่ออยากรับบริการด้านศัลยกรรมตกแต่ง และการเลือกแพทย์
เทคโนโลยีปัจจุบันทำให้ผู้ที่ต้องการรับบริการ ด้านศัลยกรรมตกแต่ง เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย กว้างขวาง และรวดเร็ว ในทางกลับกัน ข้อมูลมากมายดังกล่าวมีโอกาสทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง หรือเกิดความสับสน ดังนั้นจึงนำเสนอแนวคิดบางประการ ตามลำดับดังนี้
1.เตรียมตัวหาข้อมูลในเรื่องที่สนใจ เพื่อให้มีความเข้าใจเรื่องนั้นๆ และเตรียมคำถามก่อนพบแพทย์
เมื่อเกิดความคิดที่ต้องการทำศัลยกรรมตกแต่งในเรื่องใด สามารถหาข้อมูลความรู้ได้จากแหล่งต่างๆ ที่เชื่อถือได้ เช่น บทความเชิงวิชาการ ที่มีเหตุและผล มีข้อดีข้อเสียอยู่ในเนื้อหา การรับข้อมูลจากผู้ที่มีประสพการณ์มาก่อน ถือเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่สามารถนำมาพิจารณา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ทั้งหมด เพราะอาจจะมีความเชื่อ อารมณ์ และการชักจูงแอบแฝงได้
2. ขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
2.1 ควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับแพทย์
นอกจากจะต้องมีใบอนุญาต ซึ่งแสดงเลขที่ใบอนุญาตจากแพทยสภาแล้ว ศัลยแพทย์จะมีใบประกาศวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตร แสดงให้ทราบว่า เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านใด เช่น ศัลยแพทย์ตกแต่ง จะมีใบอนุมัติบัตรจากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย เมื่อผ่านการฝึกอบรมและทดสอบอย่างครบถ้วน และจะได้รับการรับรองเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย เมื่อผ่านการทำงานอย่างน้อย 1 ปี โดยมิได้มีปัญหาใดๆในการทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว จะมีศัลยแพทย์ตกแต่งบางท่าน ซึ่งเป็นส่วนน้อยที่ไม่ได้สมัครสมาชิก หรือบางท่านที่ถูกถอดถอนออก เป็นต้น อย่างไรก็ตามเพื่อความชัดเจนสามารถตรวจสอบรายชื่อแพทย์ จากเวบไซด์ของแต่ละสมาคมหรือ ติดต่อสอบถามผ่านเลขาของสมาคม
นอกจากจะต้องมีใบอนุญาต ซึ่งแสดงเลขที่ใบอนุญาตจากแพทยสภาแล้ว ศัลยแพทย์จะมีใบประกาศวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตร แสดงให้ทราบว่า เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านใด เช่น ศัลยแพทย์ตกแต่ง จะมีใบอนุมัติบัตรจากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย เมื่อผ่านการฝึกอบรมและทดสอบอย่างครบถ้วน และจะได้รับการรับรองเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย เมื่อผ่านการทำงานอย่างน้อย 1 ปี โดยมิได้มีปัญหาใดๆในการทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว จะมีศัลยแพทย์ตกแต่งบางท่าน ซึ่งเป็นส่วนน้อยที่ไม่ได้สมัครสมาชิก หรือบางท่านที่ถูกถอดถอนออก เป็นต้น อย่างไรก็ตามเพื่อความชัดเจนสามารถตรวจสอบรายชื่อแพทย์ จากเวบไซด์ของแต่ละสมาคมหรือ ติดต่อสอบถามผ่านเลขาของสมาคม
2.2 ให้เวลาในการสื่อสารความต้องการของตนเองให้แพทย์เข้าใจตรงกัน
เป็นเรื่องปกติที่แพทย์ต้องการข้อมูลความชัดเจนของผู้มาขอรับบริการ เพื่อประเมินและวางแผนการผ่าตัด อาจจะใช้ภาพตัวอย่าง เพื่ออธิบายว่าชอบไม่ชอบอย่างไร แต่ไม่ใช่เลียนแบบ เพราะผลหลังผ่าตัดที่ดีจะเหมาะสมกับสภาพปัญหาหรือความต้องการของแต่ละราย มากกว่าการทำเพื่อเลียนแบบ
เป็นเรื่องปกติที่แพทย์ต้องการข้อมูลความชัดเจนของผู้มาขอรับบริการ เพื่อประเมินและวางแผนการผ่าตัด อาจจะใช้ภาพตัวอย่าง เพื่ออธิบายว่าชอบไม่ชอบอย่างไร แต่ไม่ใช่เลียนแบบ เพราะผลหลังผ่าตัดที่ดีจะเหมาะสมกับสภาพปัญหาหรือความต้องการของแต่ละราย มากกว่าการทำเพื่อเลียนแบบ
ควรสอบถามข้อมูลรายละเอียดที่จำเป็นต้องทราบ เช่น ข้อจำกัดของโครงสร้างตัวเอง ความคาดหวังผลที่จะได้ หรือผลข้างเคียงที่มีโอกาสเกิดขึ้น รวมไปถึงการดูแลหลังทำ และแนวทางแก้ไขกรณีเกิดผลข้างเคียง
2.3 รับข้อมูลมาไตร่ตรอง “คิดรอบคอบก่อนทำ ไม่ใช่ว่า..ทำแล้วเกิดปัญหา..บอกว่ารู้แบบนี้ไม่ทำดีกว่า”
เนื่องจากแพทย์แต่ละท่านจะมีประสพการณ์ ความคิดเห็น มุมมองที่แตกต่างกัน ข้อมูลที่ได้รับจึงไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้ายที่ต้องรีบด่วนตัดสินใจทำตามคำแนะนำในทันทีทันใด เมื่อมีความสงสัย หรือไม่แน่ใจ ให้กลับมาทบทวนตั้งแต่ต้นใหม่อีกรอบ หรือสอบถามจากแพทย์ท่านอื่นๆ แล้วนำข้อดี ข้อเสียทั้งหมด กลับมาถามตัวเองว่าสมมุตเกิดเรื่องที่แย่ที่สุด จะรับได้หรือไม่ ถ้าคิดว่ารับไม่ได้เลย ให้อยู่เฉยๆจะไม่เกิดปัญหา หรือถ้าเกิดแล้วมีทางออกในแบบที่รับได้หรือไม่
เนื่องจากแพทย์แต่ละท่านจะมีประสพการณ์ ความคิดเห็น มุมมองที่แตกต่างกัน ข้อมูลที่ได้รับจึงไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้ายที่ต้องรีบด่วนตัดสินใจทำตามคำแนะนำในทันทีทันใด เมื่อมีความสงสัย หรือไม่แน่ใจ ให้กลับมาทบทวนตั้งแต่ต้นใหม่อีกรอบ หรือสอบถามจากแพทย์ท่านอื่นๆ แล้วนำข้อดี ข้อเสียทั้งหมด กลับมาถามตัวเองว่าสมมุตเกิดเรื่องที่แย่ที่สุด จะรับได้หรือไม่ ถ้าคิดว่ารับไม่ได้เลย ให้อยู่เฉยๆจะไม่เกิดปัญหา หรือถ้าเกิดแล้วมีทางออกในแบบที่รับได้หรือไม่
3. ตัดสินใจ……
ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ถึงกับยากจนเกินไป ถ้ามองทุกอย่างในแง่ดี อย่างน้อยที่สุดที่ควรจะได้รับ คือ ความสบายใจหลังทำ เพราะไม่มีทางที่ทำแล้วจะให้ทุกคนชอบทั้งหมด หรือมีโอกาสที่ไม่ได้ผลที่ต้องการทั้งหมด จากข้อจำกัดของโครงสร้างตัวเอง และไม่มีใครสรุปได้ว่า แพทย์คนใดเก่งที่สุด เชี่ยวชาญในเรื่องใดมากที่สุด หรือแพทย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดอาจจะไม่ได้ทำให้คุณเกิดความพอใจได้ เพราะส่วนใหญ่ของการทำศัลยกรรมตกแต่ง โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความสวยงาม เป็นเรื่องของมุมมองที่แตกต่างกัน ความชอบ ความรู้สึก รวมไปถึงบางรายก็มีผลตอบรับจากคนรอบตัวเป็นปัจจัยร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม หลักการที่ให้ไว้จะช่วยเป็นแนวทางให้กับผู้ที่ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไรได้มีข้อคิดและนำไปประยุกต์ให้เข้ากับความต้องการของตัวเอง
เลือกแพทย์ที่เข้าใจสิ่งที่คุณต้องการ (ไม่ใช่ตามใจ) มีเวลาให้ตั้งแต่ก่อนทำ สามารถนัดติดตามผลหลังทำได้
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก สมาคมศ้ลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น